ผู้ดับแผ่นดิน
ในทุกเหตุการณ์ มีทั้งเรื่องราวและความรู้สึก ผู้ที่จะรักษาแผ่นดินไว้ได้นั้น จักต้องใส่ใจต่อความรู้สึกยิ่งกว่าเรื่องราว หากผู้ใดสนใจแต่เรื่องราว โดยละเลยความรู้สึกเสียสิ้น ผู้นั้นย่อมเป็นผู้ดับแผ่นดิน
ผู้เข้าชมรวม
1,778
ผู้เข้าชมเดือนนี้
2
ผู้เข้าชมรวม
ข้อมูลเบื้องต้น
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
เมื่อเราได้พบเห็นหรือได้ฟังเรื่องราวของสิ่งที่เรายึดถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เราเคยคิดบ้างไหมว่า หากเราต้องผ่านพบเหตุการณ์แบบนั้น หากราต้องมาอยู่แบบนั้น เราจะมีความรู้สึกอย่างไร
ปัจจุบัน เขาคือผู้ที่ชาวบ้านเรียกว่าเป็นเจ้าพ่อ แต่ในอดีต เขาคือผู้ที่อยู่ท่ามกลางความเกลียดชัง เขาเป็นสายเลือดของแผ่นดินศัตรูที่ข้ามน้ำมาเติบโตในอีกแผ่นดินหนึ่ง แม้ว่าเขาจะได้รับความรักจากเพื่อนและเธอผู้เป็นดังดวงใจ แต่ก็ต้องรับรู้ถึงความชังของฝ่ายที่หัวใจมีแต่ความเกลียดชังคนต่างเผ่า เมื่อความขัดแย้งระหว่างแผ่นดินระอุโชน และผู้มีสายเลือดเดียวกับเขาข้ามน้ำมาตามให้เขากลับไปกอบกู้แผ่นดินเดิม ไม่ว่าเขาจะเลือกยืนอยู่บนแผ่นดินใด เขาก็ได้ชื่อว่ายืนอยู่บนแผ่นดินศัตรู ศัตรูของแผ่นดินเกิด หรือศัตรูของแผ่นดินที่เขาเติบโต สุดท้ายแล้ว เเขาจะเหลือทางใดให้เดิน
ทุกวิญญาณในกาลนั้นล้วนเวียนว่าย มีเพียงเขาที่ยังคงอยู่ใต้ผืนน้ำนานนับหมื่นปีเพื่อชดใช้หนี้กรรมที่เขาเลือกเอง และแล้ว วันหนึ่ง ผู้คนที่เคยอยู่ร่วมแผ่นดินเดิมกับเขาหวนกลับมา ขณะที่ความพยาบาทของดวงวิญญาณในอดีตที่ถูกคุมขังไว้ยังไม่สิ้นสูญ สิ่งที่ติดค้างอยู่ในหัวใจของแต่ละคนกลายเป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนให้เรื่องราวดำเนินไป หนทางใดเล่าที่จะถอนสิ่งที่ติดค้างระหว่างกันได้ทั้งหมด
เรื่องนี้เป็นนวนิยายเรื่องแรกในชุดบันทึกคนบาป ที่เป็นชุดของเรื่องราวการระลึกชาติของผู้ที่เคยทำความผิดพลาดไว้ในอดีต เรื่องผู้ดับแผ่นดิน เน้นที่ประเด็นของการนำความเกลียดชังมาครอบงำสังคมจนเกิดโศกนาฏกรรม หวังว่านิยายเรื่องนี้ จะกระตุ้นให้ผู้อ่านตระหนักถึงผลเสียของการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย เกลียดชังกัน ซึ่งจะนำไปสู่ความรุนแรงระหว่างผู้คนไม่สิ้นสุด ยิ่งสนใจแต่ความเป็นไปของเรื่องราว โดยไม่สนใจความรู้สึกของผู้คนที่อยู่ในเรื่องราวนั้น มีแต่ความขัดแย้งจะยิ่งทวีเหมือนไฟที่ได้น้ำมัน ขอให้ความขัดแย้งที่รุนแรงในนิยายเรื่องนี้ เป็นจุดเริ่มต้นในการกระตุ้นให้ยอมรับในคุณค่าของความเป็นมนุษย์และการให้อภัยแก่กัน เพื่อยุติความรุนแรงทั้งมวลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งในสังคมไทยและสังคมโลก อย่าให้มีใครต้องตายเพราะความเกลียดชังกันอีกเลย
ต่อไปนี้เป็นรายการเอกสารและหนังสือที่แนะนำให้อ่านประกอบค่ะ ถ้าสนใจ
เจีย
แยนจอง. ๒๕๔๘. “คนไท” ไม่ใช่ “คนไทย” แต่เป็นเครือญาติชาติภาษา. กรุงเทพฯ: มติชน
ชลธิรา
สัตยาวัฒนา. ๒๕๖๑. ด้ำ แถน กำเนิดรัฐไท. กรุงเทพฯ: ชนนิยม
ญดา
ศรีเงินยวง. ๒๕๖๐. เรือเล็กควรออกจากฝั่งเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของประมงพื้นบ้านและการประมงแบบยั่งยืน.
ครัว. ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๒๗๔. เมษายน ๒๕๖๐. หน้า ๕๖ – ๗๙
รณี
เลิศเลื่อมใส. ๒๕๕๔. จักรวาลทัศน์ ฟ้า-ขวัญ-เมือง คัมภีร์โบราณไทอาหม. กรุงเทพฯ: มูลนิธิวิถีทรรศน์
วิฆเนศ
ทรงธรรม สุมาลี มุลิกา คเชนทร์ เหนี่ยวสุภาพ Dallas
C. Mildenhall, Ursula A. Cochran และ Darya Kojevnikova. พัฒนาการของที่ราบลุ่มภาคกลางตอนล่างอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเลที่เกี่ยวข้องกับการตั้งถิ่นฐานของชุมชนทวารวดีในช่วงสมัยโฮโลซีน.
เข้าถึงได้จากhttp://library.dmr.go.th/Document/Proceedings-Yearbooks/M_1/2557/10162.pdf เมื่อ ๗ มีนาคม ๒๕๖๒
สุจิตต์
วงษ์เทศ. ๒๕๔๖. นาคในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: มติชน
สุจิตต์
วงษ์เทศ. ๒๕๔๖. ประวัติศาสตร์สังคม-วัฒนธรรมของภาษาและวรรณคดีในสยามประเทศ.
กรุงเทพฯ: มติชน
ฉาย แสงเพชร
|
ผลงานอื่นๆ ของ chaisaengpetch ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ chaisaengpetch
ความคิดเห็น